首页    期刊浏览 2025年07月16日 星期三
登录注册

文章基本信息

  • 标题:การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างผู้จัดการความรู้ให้มีคุณภาพ : กรณีศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Factors that Make a Qualified Knowledge Management Manager : A Pilot Study at Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University)
  • 本地全文:下载
  • 作者:(Wuttichai Thanapongsathorn), วุฒิชัย ธนาพงศธร ; (Kettip Pluemvong), เกษทิพย์ ปลื้มวงษ์ ; (Supaporn Panichsombudkit), สุภาพร พาณิชสมบัติกิจ
  • 期刊名称:Journal of Behavioral Science
  • 印刷版ISSN:1686-1442
  • 出版年度:2010
  • 卷号:16
  • 期号:2
  • 语种:English
  • 出版社:Behavioral Science Research Institute
  • 摘要:          To be a learning organization (LO), we have to have a competence knowledge management (KM) manager to extract tacit knowledge from our experienced staff combines with explicit knowledge. As we don't have any study to show the effectiveness and efficiency of KM workshop, Faculty of medicine, Srinakharinwirot University was (MEDSWU) did a pilot KM learning workshop to study factors that make a qualified KM manager. The objective was evaluated was KM competency, happiness level, quality of life and factors that were made a qualified KM manager. This was an experimental study using five steps of BSTAP model (ฺBefore Learning Review + Simulated role play + Team learning + After Learning Review + Post-training implementation) to make among 9 KM managers. The results of KM competency after learning showed KM knowledge increased 100 percent, average mean score increased 5.41 from 10 score, KM skills increased 100 percent, average mean score increased 4.90 from 10 score and KM attitude increased 8 in 9 (88.89%), average mean score increased 1.34 from 10 score (statistical significant). Happiness level increased 8 in 9 (88.89%), average mean score increased 1.91 from 10 score (statistical significant) and quality of life  increased 5 in 9 (55.56%) average mean score increased 0.12 from 10 score (no statistical significant). Factors that were made a qualified KM manager: Thailand Quality Award (TQA) 11 core value was the most impact on focus on the future and organizational and personal learning (average mean score 4.56 from 5 score), MEDSWU 6 core value was the most impact on excellence (average mean score 4.44 from 5 score), skills factor was the most impact on punctual personality (average mean score 4.67 from 5 score) and attitude factor was the most impact on intention to be KM manager (average mean score 4.67 from 5 score). In conclusion, BSTAP learning model was increased of KM competency in term of knowledge, skills and attitude without any effect to their quality of life. However, KM learning process should consider trainee factors on the intention to be KM manager and the punctual personality. Keywords: knowledge management manager, knowledge management, BSTAP learning model บทคัดย่อ          ในการจัดการความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร จะต้องมีผู้จัดการความรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อตกผลึกองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล และความรู้ที่อยู่ในเอกสาร แต่ยังไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกอบรมผู้จัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้จัดโครงการนำร่อง เพื่อฝึกอบรมสร้างผู้จัดการความรู้ที่มีคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านศักยภาพการจัดการความรู้ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับความสุขในการทำงานและระดับคุณภาพชีวิต และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างผู้จัดการความรู้ที่มีคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการอบรม โดยใช้กระบวนการฝึกอบรม 5 ขั้นตอนที่บูรณาการ เรียกว่า BSTAP model (Before Learning Review + Simulated roleplay + Team learning + After Learning Review + Post-training implementation) ผลการวิจัยภายหลังสิ้นสุดการฝึกอบรมผู้จัดการความรู้จำนวน 9 คน พบว่า ผู้จัดการความรู้มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน (100%) โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.41 (จากคะแนนเต็ม 10) สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีระดับทักษะเพิ่มขึ้นทุกคน (100%) โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.90 (จากคะแนนเต็ม 10) สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีระดับเจตคติเพิ่มขึ้น 8 ใน 9 คน (88.89%) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.34 (จากคะแนนเต็ม 10) สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนระดับความสุขในการทำงานและระดับคุณภาพชีวิตหลังการสิ้นสุดการอบรม พบว่า ระดับความสุขเพิ่มขึ้น 8 ใน 9 คน (88.89%) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.91 (จากคะแนนเต็ม 10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 5 ใน 9 คน (55.56%) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.12 (จากคะแนนเต็ม 5) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างผู้จัดการความรู้ที่มีคุณภาพ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นค่านิยมตามระบบ Thailand Quality Award (TQA) 11 ปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การมุ่งเน้นอนาคต และการเรียนรู้ขององค์กรและบุคคลในองค์กร (ระดับเฉลี่ย 4.56 จากคะแนนเต็ม 5) ปัจจัยที่เป็นค่านิยมของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(MEDSWU) 6 ปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศในผลงาน (ระดับเฉลี่ย4.44 จากคะแนนเต็ม 5) ปัจจัยด้านทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความตรงต่อเวลา (ระดับเฉลี่ย 4.67 จากคะแนนเต็ม 5 ระดับ) และปัจจัยด้านเจตคติที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความตั้งใจในการเข้ารับการอบรม (ค่าเฉลี่ย 4.67จากคะแนนเต็ม 5) สรุปได้ว่า ผลการฝึกอบรมผู้จัดการความรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ BSTAP model สามารถสร้างศักยภาพผู้จัดการความรู้ทั้งในด้านระดับความรู้ ระดับทักษะ และระดับทัศนคติได้มากขึ้น โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำหรับทักษะที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างผู้จัดการความรู้ ได้แก่ความตรงต่อเวลา และความตั้งใจในการเข้ารับการอบรมคำสำคัญ: ผู้จัดการความรู้, การจัดการความรู้, รูปแบบการสร้างผู้จัดการความรู้
国家哲学社会科学文献中心版权所有