文章基本信息
- 标题:องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี.
- 本地全文:下载
- 作者:สำเภา, นพรัตน์ ; พงษ์โสภา, อาจารย์วิไลลักษณ์ ; เผ่ามหานาคะ, อาจารย์นันทวิทย์ 等
- 期刊名称:วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์
- 出版年度:2009
- 卷号:8
- 期号:3
- 语种:English
- 出版社:วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์
- 摘要:ก า ร วิจัย ค รั้ง นี้มีจุด มุ่ง ห ม า ย เ พื่อ ศึก ษ า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี องค์ประกอบที่ ศึกษาแบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านส่วนตัว ได้แก่ ได้แก่ เพศ ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยทางการเรียน ความวิตกกังวลต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ บุคลิกภาพ และ สุขภาพจิต องค์ประกอบด้านครอบครัว ได้แก่ สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว แ ล ะ ก า ร ส นับ ส นุน ข อ ง ผู้ปกครองด้านการเรียน และองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้านการเรียน สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และสัมพันธภาพระหว่าง นักเรียนกับเพื่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2549 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 423 คน เป็นนักเรียนชาย 156 คน และนักเรียนหญิง 267 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาค้นคว้า เป็นแบบสอบถามองค์ประกอบที่มีอทิธิพล ต่อความสามารถในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และ แบบทดสอบความความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถใน การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมาก ที่สุดไปหาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะ ทางกายภาพด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (X17) แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (X11) สุขภาพจิต (X15) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X6) ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ความสามารถในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสา หาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 50.70 จึงนำค่า สัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Ŷ1 = 18.922 - 5.768 X17 + 3.004 X11 - 2.01 X15 + 3.216 X6 สมการพยากรณ์ความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z1 = -.542 X17 + .299 X11 - .196 X15 + .182 X6 2. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถใน การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 2 องค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมาก ที่สุดไปหาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(X6) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับ เพื่อน (X19) ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 2 องค์ประกอบ สามารถ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความสามารถในการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 12.90 จึงนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มา เขียนสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Ŷ2 = 16.882 + 1.995 X6 -1.787 X19 สมการพยากรณ์ความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z 2 = .295 X6 -.244 X19 3. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถใน การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำ เภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 3 องค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมาก ที่สุดไปหาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (X11) การสนับสนุน ของผู้ปกครองด้านการเรียน(X16) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X6) ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ สามารถร่วมกัน อธิบายความแปรปรวนความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 12.50 จึงนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มา เขียนสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Ŷ3 = .182 + 3.315 X11 -1.664 X16 + 4.027 X6 สมการพยากรณ์ความสามารถในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z3 = .230 X11 -.181 X 16 +.174 X