首页    期刊浏览 2025年07月15日 星期二
登录注册

文章基本信息

  • 标题:การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาเลียว จังหวัดจันทบุรี
  • 本地全文:下载
  • 作者:จารินิด ต้นไฮ ; รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ ; ปริญญา ทองสอน
  • 期刊名称:วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว
  • 印刷版ISSN:1905-5536
  • 出版年度:2021
  • 卷号:16
  • 期号:1
  • 语种:Thai
  • 出版社:วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว
  • 摘要:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่องดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังเรียนหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร และ3)เพื่อศึกษาความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของผู้เรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาเลียว จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้การทดลอง ได้แก่ 1)หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร มีองค์ประกอบ ได้แก่ บทนำ ,หลักการ, จุดมุ่งหมาย, โครงสร้างรายวิชา/อัตราเวลาเรียน, คำอธิบายรายวิชา, กระบวนการจัดการเรียนรู้, สื่อ/แหล่งเรียนรู้, และการวัด/ประเมินผล 2)แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 3)แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและ 4)แบบประเมินความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง การวิจัยใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pre-Test Post-Test Design การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนความมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.98, SD= 0.08) 2. ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่อง ดุจดินแดนแห่งความฝัน ณ จันทบูร อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.92, SD= 0.18).
  • 其他摘要:The objectives of this research were to 1)develop of local curriculum on “Chanthaboon Dreamland”, 2) To compare English communication skills pre-test and post-test learning by local curriculum “Chanthaboon Dreamland”and and 3)to assess of local pride through of Prathomsuksa VI students of Banthaleaw school Chanthaburi province learning by local curriculum “Chanthaboon Dreamland”. The sample consisted of 24 students Banthaleaw school Chanthaburi Province, in the second semester of 2020 was chosen by cluster random sampling. The research instruments included 1) local curriculum “Chanthaboon Dreamland” there were background, principles, goals, learning time structure /learning time allotment, course description, learning management, learning media and learning measurement/assessment 2)lesson plans by using communication learning approach 3)English communication skills test and 4) an evaluation of local pride. The design of this research was one group pre-test post-test design. The data statistic used in this study were percentage, mean, standard deviation and t-test. The results of this research were as follows: 1. The development of local curriculum “Chanthaboon Dreamland” in order to enhance English communication skills was a highest level. ( =4.98, SD= 0.08) 2. The post-test of English communication skills was significant higher than pre-test in the statistical at .05 3. The assessment of local pride through of the students learning by local curriculum “Chanthaboon Dreamland” the overall at highest level. (= 4.92, SD= 0.18).
  • 关键词:การพัฒนาหลักสูตร;ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ;ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
  • 其他关键词:Curriculum Development;English Communication Skills;Local Pride
国家哲学社会科学文献中心版权所有