首页    期刊浏览 2025年07月17日 星期四
登录注册

文章基本信息

  • 标题:การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้กิจกรรมแนะแนว
  • 本地全文:下载
  • 作者:จิรัฐา โนยราษฎร์ ; ครรชิต แสนอุบล ; นฤมล พระใหญ่
  • 期刊名称:วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว
  • 印刷版ISSN:1905-5536
  • 出版年度:2021
  • 卷号:16
  • 期号:2
  • 语种:Thai
  • 出版社:วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว
  • 摘要:การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวของกลุ่มทดลอง 3) เปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล 3 "ยุติธรรมวิทยา" จำนวน 18 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมแนะแนว เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 2 ห้องเรียนที่ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงจากห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบต่อการเรียนตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรับผิดชอบต่อการเรียน 2) แผนกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและรายด้าน 2) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรับผิดชอบต่อการเรียนทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีความรับผิดชอบต่อการเรียนทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05.
  • 其他摘要:The purposes of this research are as follows: (1) to study the learning responsibility of junior high school students; (2) to compare the learning responsibility before and after using a guidance activity package to strengthen the learning responsibility of the experimental group; and (3) to compare the learning responsibility between the experimental and control groups. The target group in this study were 18 classrooms of junior high school students from Municipal Secondary School Three or Yuttithamwittaya. The sample were selected by purposive sampling from two classrooms who had learning responsibility scores of lower than the 25th percentile and they volunteered to participate in the study. Then, they were randomly divided into two groups: the experimental group consisted of 30 participants and a control group of 27 people. The instruments used in this study were as follows: (1) a questionnaire on learning responsibility; and (2) a guidance activity package for the enhancement of learning responsibility. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows: (1) the overall and each aspect of the learning responsibility of junior high school students were at the medium level; (2) after receiving the guidance activity package, the experimental group had a higher learning responsibility with a statistical significance of .05 level, and (3) after receiving the guidance activity package, the experimental group had a learning responsibility which was higher than the control group with a statistical significance of .05.
  • 关键词:ความรับผิดชอบต่อการเรียน;กิจกรรมแนะแนว
  • 其他关键词:Responsibility;Guidance Activities
国家哲学社会科学文献中心版权所有