首页    期刊浏览 2025年07月13日 星期日
登录注册

文章基本信息

  • 标题:การสร้างแบบวัดความมุ่งมั่นในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย
  • 本地全文:下载
  • 作者:รณะบุตร, ศศิธร ; ภิญโญอนันตพงษ์, สิริมา
  • 期刊名称:วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์
  • 出版年度:2015
  • 卷号:15
  • 期号:2
  • 语种:English
  • 出版社:วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์
  • 摘要:บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์หลักเพื่อสร้างแบบวัดความมุ่งมั่นในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษาปฐมวัย และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง IOC ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้ดัชนี CITC (Corrected Item-Total Correlation) ใช้การวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบและแสดงหลักฐานความเชื่อมั่นของแบบวัดด้วยสูตรแอลฟาของครอนบัค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 117 คน แบบวัดที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม 75 ข้อรายการ มีลักษณะเป็นข้อคำถามปลายปิดแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ โดยมุ่งเน้นวัดคุณลักษณะความมุ่งมั่นในการเรียน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านเจตคติต่อการเรียน (2) องค์ประกอบด้านแรงจูงใจในการเรียน และ (3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ระหว่าง .60 ถึง 1.00 2) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้ดัชนี CITC มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 จำนวนทั้งสิ้น 75 ข้อรายการ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง .44 ถึง .69 3) การวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบ พบว่า แบบวัดที่สร้างขึ้นโมเดลมีความเหมาะสมดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 87.05 (P= .13 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05) ค่าดัชนีวัดความเหมาะสมดี (GFI) มีค่า .91 และ RMSER เท่ากับ .04 และ 4) ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดด้วยสูตรแอลฟาของครอนบัคโดยรวมทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .95 และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า ความมุ่งมั่นในการเรียนด้านเจตคติต่อการเรียน ด้านแรงจูงใจในการเรียน และด้านพฤติกรรมการเรียน มีค่าเท่ากับ .94, .93 และ .94 ตามลำดับ คำสำคัญ : แบบวัดความมุ่งมั่นในการเรียน, นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษาปฐมวัย
国家哲学社会科学文献中心版权所有