首页    期刊浏览 2025年07月13日 星期日
登录注册

文章基本信息

  • 标题:รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • 本地全文:下载
  • 作者:นิลแก้วบวรวิชญ์ ; ภัทรวรรธน์ ; ไชยชมภู
  • 期刊名称:วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • 印刷版ISSN:0125-3212
  • 出版年度:2017
  • 卷号:27
  • 期号:3
  • 页码:18-32
  • 语种:English
  • 出版社:วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • 摘要:การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือ สร้างและพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 380 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า เครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ .80 ถึง1.00 ค่าความสัมพันธ์รายข้อ มีค่าตั้งแต่ .21 ถึง .82 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Z-testผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการมี 5 องค์ประกอบ คือ 1.1) กิจกรรมสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพการดำเนินภารกิจของเครือข่าย 1.2) เทคนิค วิธีการพัฒนาสมาชิกเครือข่าย 1.3) กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)1.4) คุณลักษณะที่ดีของสมาชิกและผู้นำเครือข่าย และ 1.5) การปฏิบัติงานของเครือข่ายและการสะท้อนผล 2)กระบวนการสร้างเครือข่ายมี 6 ขั้นตอน คือ 2.1) ขั้นตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย 2.2) ขั้นประสานหน่วยงาน/ องค์กรเครือข่าย 2.3) ขั้นสร้างพันธะสัญญาร่วมกัน 2.4) ขั้นบริหารจัดการเครือข่าย 2.5) ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์ และ 2.6) ขั้นรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 3) ขอบข่ายภารกิจงานด้านวิชาการมี 7 ภารกิจ คือ 3.1) การพัฒนาหลักสูตร 3.2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3.3) การพัฒนาการวัดและประเมินผลการศึกษา 3.4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 3.5) การพัฒนาระบบการนิเทศติดตาม 3.6) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา 3.7) การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา และ 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • 关键词:เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ส􀄞ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา;สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
国家哲学社会科学文献中心版权所有